เรื่องจริงที่คุณแม่ลูก 2 อยากบอก ตอน รู้ทันป้องกันลูกน้อยจากไวรัส RSV

เมื่อเดือนก่อนลูกชายคนโตของอ๋อ ติดหวัดจากโรงเรียน กลับบ้านแหม่!! นึกว่าหวัดธรรมดา เพราะดันหายเอง แต่เจ้ากรรม!! ตัวเล็กเป็นต่อ พอเช็คเท่านั้นละ RSV ค่ะเหตุที่ทำให้ดูต่าง และรีบไปหาหมอด่วน คือ มีเสมหะ หายใจลำบาก นอนมีเสียงวี๊ด... และมีเริ่มเป็นไข้โชคดีที่หาหมอทันเวลา เลยแอดมิทไป 2 วันเท่านั้น เพราะเริ่มเป็น เลยอยากให้คุณแม่ สังเกตุลูกด้วย เพื่อไม่ให้สายเกินแก้ ค่ะ
RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ทางเดินหายใจอักเสบในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ แต่อาการจะเป็นมากในช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อย มีการระบาดบ่อยในทุกฤดู โดยเฉพาะช่วงอากาศเย็นหรือหนาว โดยผู้ป่วยจะติดเชื้อ RSV จากการรับเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม น้ำมูก สารคัดหลั่ง จากคนสู่คนโดยการสัมผัส หรือละอองน้ำมูกของผู้ป่วยคนอื่น และมีระยะฟักตัวประมาณ 2-7 วัน เฉลี่ย 4 วัน และอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคปอดบวม ปอดอักเสบ และหอบหืดได้
อาการเริ่มต้นจะมีน้ำมูกใส ต่อมามีอาการไอ จาม ไข้ต่ำๆ ไข้อาจจะมีหรือไม่ก็ได้ขึ้นกับภูมิต้านทานแต่ละคน ถ้าเป็นในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กจะมีอาการปอดบวม ไอ หอบได้ง่าย เด็กจะมีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย บางครั้งเป็นมากจะหายใจดัง “วี้ด” ถ้าเป็นมากขึ้นจะมีอาการหายใจล้มเหลวได้ เช่น หน้าอกบุ๋ม กระสับกระส่าย ซึม กินไม่ได้ โดยผู้ป่วยแพร่เชื้อได้นานประมาณ 3-8 วัน ส่วนมาก 3-4 วันแรก โดยผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก/ น้ำลาย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็น RSV แล้ว สามารถเป็นซ้ำได้หลายครั้งตลอดชีวิต แต่อาการจะน้อยลง ดังนั้นผู้ใหญ่จะอาการน้อยกว่าในเด็ก และเด็กโตจะอาการน้อยกว่าเด็กเล็กตามอายุ
เนื่องจากไม่มียารักษาโรค RSV โดยเฉพาะการรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอ กินยาบรรเทาอาการตามแพทย์สั่ง เด็กเล็กอาจมีอาการรุนแรง ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ในบางรายอาจให้การรักษา ด้วยการให้ยาขยายหลอดลม ยาแก้ภูมิแพ้ ซึ่งมีรายงานการใช้ยาในกลุ่ม singulair สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น หอบหืดในเด็กได้
"ร่างกายแข็งแรงเกราะป้องกัน RSV"
เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV ทำให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสในช่วงที่แพร่ระบาดได้มากโดยเฉพาะสถานที่ที่เด็กอยู่กันมากๆ เช่น โรงเรียนหรือสถานรับลี้ยงเด็ก ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้ลูกไม่ป่วยจากโรคนี้ คือ การมีร่างกายที่แข็งแรง และรู้จักวิธีหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
• ล้างมือบ่อย ๆ หลังจากทำกิจกรรม หรือก่อนกินอาหาร • งดไปในสถานที่แออัด เช่น โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก • ทำความสะอาดของเล่น • ผู้ป่วยต้องปิดปากหรือใส่หน้ากากอนามัยเวลาไอจามเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือเมื่อต้องไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด
อย่างไรก็ดี ในเด็กบางรายถึงแม้จะหายแล้วก็ยังอาจมีอาการไอต่อเนื่องไปเป็นเดือนได้
นพ.วีระกิจ หิรัญวิวัฒน์กุล กุมารแพทย์ประจำศูนย์เด็กและวัยรุ่น (Children and Teens Center) โรงพยาบาลนนทเวช
ที่มา: http://www.nonthavej.co.th/healthy2.php

http://www.cocorohanako.com/#!baby-product/cldk